หลักการแปล ๘ ประการ
๑. อาลปนะ
อาลปนะ มี ๒ คือ อาลปนะนาม
และอาลปนะนิบาต ถ้าอาลปนะนามมาคู่กับอาลปนะนิบาต ให้แปล
อาลปนะนามก่อน เช่น โภ ปุริส = ปุริส
ดูก่อนบุรุษ
โภ ผู้เจริญ เป็นต้นฯ
๒. นิบาตต้นข้อความหรือกาลสัตตมี
นิบาตต้นข้อความหรือกาลสัตตมี
เช่น กิร, ขล,ุ สุทํ,
หิ, จ, ปน ถ้านิบาตต้นข้อความมาคู่กับกาลสัตตมี
ให้แปลนิบาตต้นข้อความก่อน เช่น อตีเต กิร = กิร ได้ยินว่า อตีเต ในกาลอันเป็นไปล่วงแล้ว หรือ ตทา จ = จ ก็
ตทา ในกาลนั้น เป็นต้น ฯ
หมายเหตุ
: กาลสัตตมี ได้แก่ ศัพท์นามที่เกี่ยวกับกาล เวลา และสมัย
ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ เช่น ตสฺมึ กาเล ศัพท์ที่ลงปัจจัยในนาม เช่น ตทา,
อิทานิ และนิบาตบอก กาล เช่น อถ เป็นต้น
ฯ
๓. ตัวประธาน
ตัวประธาน {โดยพยัญชนะ
แปลว่า อ. (อันว่า)} ได้แก่ศัพท์ต่อไปนี้คือ
ก. นามนามทั่วไปที่เป็นปฐมาวิภัตติ
เช่น ปุริโส, เสฏฐี, กุลํ
เป็นต้น
ข. นามกิตก์ที่เป็นนามนาม (ภาวรูป ภาวสาธนะ) เช่น คมนํ เป็นต้น
ค. สมาสนามนาม เช่น ราชปุตฺโต เป็นต้น
ง. ตัทธิตนามนาม เช่น มนุสสตฺตํ
เป็นต้น
จ. ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ ที่เป็นปฐมาวิภัตติ
ฉ. สังขยานามนาม เช่น สตานิ =
อ. ร้อย ท. เป็นต้น
ช. ตทา, อิทานิ,
อชฺช และศัพท์นามที่เป็นสัตตมีวิภัตติบางศัพท์
เช่น คมนฏฺฺาเน เป็นต้น
๔. ตัวขยายประธาน
ตัวขยายประธาน
ได้แก่ศัพท์ต่อไปนี้คือ
ก. คุณนาม เช่น กุสโล ปุริโส
= อ. บุรุษ ผู้ฉลาด
ข. สังขยาคุณนาม เช่น เอโก ภิกขุ
= อ.ภิกษุ รูปหนึ่ง
ค. วิเสสนสัพพนาม เช่น อยํ เสฏฺฐี= อ.เศรษฐี นี้
ง. นามกิตก์ที่เป็นคุณนาม สมาสคุณนาม
และตัทธิตคุณนาม
๕. กิริยาในระหว่างและบทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง
กิริยาในระหว่าง ได้แก่ กิริยาดังต่อไปนี้คือ
๑) อนฺต และ มาน ปัจจัย ที่มีลิงค์ วจนะ และวิภัตติ เสมอกับตัวประธาน
๒) ตูน ตฺวา ตฺวาน ปัจจัย ที่เรียกว่า ตูนาทิปัจจัย
บทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง ได้แก่ ศัพท์นามนามและสัพพนามที่ประกอบด้วย ทุติยาวิภัตติ ถึงสัตตมีวิภัตติ
รวมไปถึงนิบาตบางตัว เช่น ปุน เอวํ เป็นต้น
๖. ประโยคแทรก
ประโยคแทรก ประโยคแทรกมี
๒ ชนิด คือ
ก. ประโยคอนาทร แปลว่า เมื่อ...
เช่น ปิตุ มตสฺส = เมื่อบิดา ตายแล้ว
ข. ประโยคลักขณะ แปลว่า ครั้นเมื่อ...เช่น สตฺถริ คเต = ครั้นเมื่อพระศาสดา เสด็จไปแล้ว
๗. กิริยาคุมพากย์
กิริยาคุมพากย์ ได้แก่ กิริยาดังต่อไปนี้
คือ
๑) กิริยาอาขยาต ทุกตัว
๒) นามกิตก์ ๑ ตัวคือ ณฺย ปัจจัย เช่น คารยฺหา
๓) กิริยากิตก์ ๓ ตัวคือ ่ ต,
อนีย, ตพฺพ ปัจจัย ใช้คุมพากย์ (ใช้คุมพากย์ได้ต่อเมื่อตัวประธานเป็นปฐมบุรุษเท่านั้น)
๔) ตฺวา ปัจจัย คุมพากย์ เรียกว่า กิริยาปธานนัย
๕) สกฺกา และ อลํ คุมพากย์
๖) อนฺต และ มาน ปัจจัย ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ เป็นกิริยาของประโยคลักขณะ
หมายเหตุ : ณฺย,
ต, อนีย, ตพฺพ ปัจจัย และ
สกฺกา ใช้คุมพากย์ได้เมื่อตัวประธานเป็นประถมบุรุษเท่านั้นถ้าตัวประธานเป็นมัธยมบุรุษกับอุตตมบุรุษให้แปลเป็นวิกติกตฺตาในกิริยาอายาต
ดังนี้คือ
๑) ถ้าตัวประธานเป็น ตวํ ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อสิ
๒) ถ้าตัวประธานเป็น ตุมฺห ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อตฺถ
๓) ถ้าตัวประธานเป็น อหํ ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อมฺหิ
๔) ถ้าตัวประธานเป็น มยํ ให้แปลเป็นวิกติกตฺตา
ใน อมฺห
เช่น อุปาสโก
วิหารํ คโต. (ต ปัจจัยใช้คุมพากย์ได้)
= อ. อุบาสก ไปแล้ว สู่วิหาร
ฯ
อุปาสกา
วิหารํ คตา (ต ปัจจัยใช้คุมพากย์ได้)
= อ. อุบาสก ไปแล้ว สู่วิหาร
ฯ
ตวํ วิหารํ คโต (อสิ).
= อ. ท่าน เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร
ย่อมเป็น ฯ
ตุมฺเห
วิหารํ
คตา (อตฺถ)
= อ. ท่าน ท. เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ
อหํ
วิหารํ
คโต (อมฺหิ).
= อ.เรา เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร
ย่อมเป็น ฯ
มยํ
วิหารํ
คตา (อมฺห).
= อ.เรา ท. เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ
๘. บทที่เนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์
- บทที่เนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์ ได้แก่ นามนาม หรือ สัพพนาม
ที่ประกอบด้วยทุติยา วิภัตติ ถึงสัตตมีวิภัตติ เช่น ชโน เสฏ€ิโน คาเม กมฺมํ กตฺวา
สฺจํ ลภิ. อ.ชน ทำแล้ว ซึ่งการงาน ในบ้าน ของเศรษฐี ได้แล้ว ซึ่งค่าจ้าง ฯ
- โอทนํ ปจติ = ย่อมหุง ซึ่งข้าวสุก,
ตสฺมึ €าเน วสติ = ย่อมอยู่ ในที่นั้น
เป็นต้น และนิบาตบางตัว เช่น ปุน อาห = กล่าวแล้ว อีก,
เอวํ กเถสิ = กล่าวแล้ว
อย่างนี้ เป็นต้นฯ
ตัวอย่างการแปล
โส กิร ภนฺเต เสฏฺฐี ปุตฺตํ ลภิตฺวา ปุตฺเต มเต
วิหารํ อคมาสิ ฯ แปลตามหลักการ แปลดังนี้
๑. ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
๒. กิร ได้ยินว่า
๓. เสฏฺฐี อ.เศรษฐี
๔. โส นั้น
๕. ปุตฺตํ ลภิตฺวา ได้แล้ว ซึ่งบุตร
๖. ปุตฺเต มเต ครั้นเมื่อบุตร ตายแล้ว
๗. อคมาสิ ได้ไปแล้ว
๘. วิหารํ สู่วิหาร
ถ้าในประโยคใดมีไม่ครบทั้ง
๘ ก็ให้เลื่อนไปตามลำดับ แต่หมายเลข ๓ คือ ตัว ประธานนั้น มีหรือไม่มีก็ให้ขึ้นมาเอง
(ยกเว้นประโยคภาวาจก)
การขึ้นประธานมาเองนั้น มีหลักดังนี้ คือ
๑. กิริยาคุมพากย์เป็นประถมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้นนามนามทั่วไปที่เป็นเอก
วจนะ เช่น ชโน
๒. กิริยาคุมพากย์เป็นประถมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้นนามนามทั่วไปที่เป็นพหุวจนะ เช่น ชนา
๓. กิริยาคุมพากย์เป็นมัธยมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น ตวํ
๔. กิริยาคุมพากย์เป็นมัธยมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น ตุมฺเห
๕. กิริยาคุมพากย์เป็นอุตฺตมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น อหํ
๖. กิริยาคุมพากย์เป็นอุตตมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น มยํ
๖. กิริยาคุมพากย์เป็นอุตตมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น มยํ
นักเรียนจงท่องให้ขึ้นใจ
ติ
บอก ชโน
อนฺติ บอก ชนา (เป็นตัวอย่าง)
สิ
บอก ตวํ
ถ บอก
ตุมฺเห
(ตายตัว)
มิ
บอก อหํ
ม บอก มยํ (ตายตัว)