6/06/2556

หลักการแปลบาลี

หลักการแปล ๘ ประการ

                .    อาลปนะ
                        อาลปนะ มี ๒ คือ อาลปนะนาม และอาลปนะนิบาต ถ้าอาลปนะนามมาคู่กับอาลปนะนิบาต ให้แปล
อาลปนะนามก่อน เช่น โภ ปุริส = ปุริส ดูก่อนบุรุษ โภ ผู้เจริญ เป็นต้นฯ
                .   นิบาตต้นข้อความหรือกาลสัตตมี
                        นิบาตต้นข้อความหรือกาลสัตตมเช่น กิร, ขล,ุ สุทํ, หิ, , ปน ถ้านิบาตต้นข้อความมาคู่กับกาลสัตตมี
ให้แปลนิบาตต้นข้อความก่อน เช่น อตีเต กิร = กิร ได้ยินว่า อตีเต ในกาลอันเป็นไปล่วงแล้ว หรือ ตทา จ ก็ ตทา ในกาลนั้น เป็นต้น ฯ
                        หมายเหตุ : กาลสัตตมี ได้แก่ ศัพท์นามที่เกี่ยวกับกาล เวลา และสมัย ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ เช่น ตสฺมึ กาเล ศัพท์ที่ลงปัจจัยในนาม เช่น ตทา, อิทานิ และนิบาตบอก กาล เช่น อถ เป็นต้น ฯ
                .    ตัวประธาน
                        ตัวประธาน {โดยพยัญชนะ แปลว่า อ. (อันว่า)} ได้แก่ศัพท์ต่อไปนี้คือ
                        .    นามนามทั่วไปที่เป็นปฐมาวิภัตติ เช่น ปุริโส, เสฏฐี, กุลํ เป็นต้น
                        .    นามกิตก์ที่เป็นนามนาม (ภาวรูป ภาวสาธนะ) เช่น คมนํ เป็นต้น
                        .    สมาสนามนาม เช่น ราชปุตฺโต เป็นต้น
                        .    ตัทธิตนามนาม เช่น มนุสสตฺตํ เป็นต้น
                        .    ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ ที่เป็นปฐมาวิภัตติ
                        .    สังขยานามนาม เช่น สตานิ = . ร้อย ท. เป็นต้น
                        .    ตทา, อิทานิ, อชฺช และศัพท์นามที่เป็นสัตตมีวิภัตติบางศัพท์ เช่น คมนฏฺาเน เป็นต้น
                .    ตัวขยายประธาน
                        ตัวขยายประธาน ได้แก่ศัพท์ต่อไปนี้คือ
                        .    คุณนาม เช่น กุสโล ปุริโส = . บุรุษ ผู้ฉลาด
                        .    สังขยาคุณนาม เช่น เอโก ภิกขุ = .ภิกษุ รูปหนึ่ง
                        .    วิเสสนสัพพนาม เช่น อยํ เสฏฺฐี= .เศรษฐี นี้
                        .    นามกิตก์ที่เป็นคุณนาม สมาสคุณนาม และตัทธิตคุณนาม
                ๕.           กิริยาในระหว่างและบทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง
                        กิริยาในระหว่าง ได้แก่ กิริยาดังต่อไปนี้คือ
                        )   อนฺต และ มาน ปัจจัย ที่มีลิงค์ วจนะ และวิภัตติ เสมอกับตัวประธาน
                        ตูน ตฺวา ตฺวาน ปัจจัย ที่เรียกว่า ตูนาทิปัจจัย
                        บทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง ได้แก่ ศัพท์นามนามและสัพพนามที่ประกอบด้วย ทุติยาวิภัตติ ถึงสัตตมีวิภัตติ รวมไปถึงนิบาตบางตัว เช่น ปุน เอวํ เป็นต้น
                .     ประโยคแทรก
                        ประโยคแทรก ประโยคแทรกมี ๒ ชนิด คือ
                        .    ประโยคอนาทร แปลว่า เมื่อ... เช่น ปิตุ มตสฺส = เมื่อบิดา ตายแล้ว
                        .    ประโยคลักขณะ แปลว่า ครั้นเมื่อ...เช่น สตฺถริ คเต = ครั้นเมื่อพระศาสดา เสด็จไปแล้ว
               ๗.    กิริยาคุมพากย์
                        กิริยาคุมพากย์ ได้แก่ กิริยาดังต่อไปนี้ คือ
                        )   กิริยาอาขยาต ทุกตัว
                        นามกิตก์ ๑ ตัวคือ  ณฺย ปัจจัย เช่น คารยฺหา
                        )   กิริยากิตก์ ๓ ตัวคือ ่ ต, อนีย, ตพฺพ ปัจจัย ใช้คุมพากย์ (ใช้คุมพากย์ได้ต่อเมื่อตัวประธานเป็นปฐมบุรุษเท่านั้น)
                        )   ตฺวา ปัจจัย คุมพากย์ เรียกว่า กิริยาปธานนัย
                        )   สกฺกา และ อลํ คุมพากย์
                        )   อนฺต และ มาน ปัจจัย ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ เป็นกิริยาของประโยคลักขณะ
                        หมายเหตุ : ณฺย, , อนีย, ตพฺพ ปัจจัย และ สกฺกา ใช้คุมพากย์ได้เมื่อตัวประธานเป็นประถมบุรุษเท่านั้นถ้าตัวประธานเป็นมัธยมบุรุษกับอุตตมบุรุษให้แปลเป็นวิกติกตฺตาในกิริยาอายาต ดังนี้คือ
            )   ถ้าตัวประธานเป็น ตวํ ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อสิ
                        ถ้าตัวประธานเป็น ตุมฺห ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อตฺถ
                        )   ถ้าตัวประธานเป็น อหํ ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อมฺหิ
                        )   ถ้าตัวประธานเป็น มยํ ให้แปลเป็นวิกติกตฺตา ใน อมฺห
                        เช่น อุปาสโก วิหารํ คโต. (ต ปัจจัยใช้คุมพากย์ได้)
                        =     . อุบาสก ไปแล้ว สู่วิหาร ฯ
                                อุปาสกา วิหารํ คตา (ต ปัจจัยใช้คุมพากย์ได้)
                        =     . อุบาสก ไปแล้ว สู่วิหาร ฯ
                                ตวํ วิหารํ คโต (อสิ).
                        =     . ท่าน เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ
                                ตุมฺเห วิหารํ คตา (อตฺถ)
                        =     . ท่าน ท. เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ
                                อหํ วิหารํ คโต (อมฺหิ).
                        =     .เรา เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ
                                มยํ วิหารํ คตา (อมฺห).
                        =     .เรา ท. เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ
        .   บทที่เนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์
                        -      บทที่เนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์ ได้แก่ นามนาม หรือ สัพพนาม ที่ประกอบด้วยทุติยา วิภัตติ ถึงสัตตมีวิภัตติ เช่น ชโน เสฏิโน คาเม กมฺมํ กตฺวา สฺจํ ลภิ. .ชน ทำแล้ว ซึ่งการงาน ในบ้าน ของเศรษฐี ได้แล้ว ซึ่งค่าจ้าง ฯ
                        -      โอทนํ ปจติ = ย่อมหุง ซึ่งข้าวสุก, ตสฺมึ าเน วสติ = ย่อมอยู่ ในที่นั้น เป็นต้น และนิบาตบางตัว เช่น ปุน อาห = กล่าวแล้ว อีก, เอวํ กเถสิ = กล่าวแล้ว อย่างนี้ เป็นต้นฯ



ตัวอย่างการแปล

            โส กิร ภนฺเต เสฏฺฐี ปุตฺตํ ลภิตฺวา ปุตฺเต มเต วิหารํ อคมาสิ ฯ แปลตามหลักการ แปลดังนี้
                        .    ภนฺเต                      ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
                        .   กิร                           ได้ยินว่า
                        .   เสฏฺ                         .เศรษฐี
                        .   โส                           นั้น
                        .   ปุตฺตํ ลภิตฺวา          ได้แล้ว ซึ่งบุตร
                        .    ปุตฺเต มเต              ครั้นเมื่อบุตร ตายแล้ว
                        .   อคมาสิ                   ได้ไปแล้ว
                        .   วิหารํ                      สู่วิหาร
                ถ้าในประโยคใดมีไม่ครบทั้ง ๘ ก็ให้เลื่อนไปตามลำดับ แต่หมายเลข ๓ คือ ตัว ประธานนั้น มีหรือไม่มีก็ให้ขึ้นมาเอง (ยกเว้นประโยคภาวาจก)


การขึ้นประธานมาเองนั้น มีหลักดังนี้ คือ
                        .    กิริยาคุมพากย์เป็นประถมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้นนามนามทั่วไปที่เป็นเอก วจนะ เช่น ชโน
                        .   กิริยาคุมพากย์เป็นประถมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้นนามนามทั่วไปที่เป็นพหุวจนะ  เช่น ชนา
                        .   กิริยาคุมพากย์เป็นมัธยมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น ตวํ
                        .   กิริยาคุมพากย์เป็นมัธยมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น ตุมฺเห
                        .   กิริยาคุมพากย์เป็นอุตฺตมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น อหํ
                   .    กิริยาคุมพากย์เป็นอุตตมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น มยํ





นักเรียนจงท่องให้ขึ้นใจ
ติ           บอก    ชโน           
อนฺติ    บอก    ชนา  (เป็นตัวอย่าง)
สิ           บอก    ตวํ            
       บอก    ตุมฺเห (ตายตัว)
มิ           บอก    อหํ             
     บอก    มยํ  (ตายตัว)